คำว่า "นวกรรม" และ นวัตกรรม นั้น มีผู้สับสนว่าควรใช้คำไหนจึงจะถูกต้อง ในความจริงแล้ว คำว่า "นวกรรม" นั้นใช้มาก่อนและผู้ใช้คุ้นเคยมากกว่ามีผู้กล่าวว่าคำว่า"นวกรรม" เป็นคำที่เคยใช้ในพระสูตรทางพุทธศาสนาแล้วซึ่งหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับการก่อสร้างบ้านเรือน อาจไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังความหมายที่เข้าใจกัน ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงใช้คำว่า "นวัตกรรม" แทนทั้งที่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความหมาย เช่นเดียวกันคำว่า "นวกรรม" หรือ "นวัตกรรม" เป็นคำที่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรง แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" ซึ่งมีรากศัพท์เป็นภาษาลาตินว่า "Innovate" หมายถึง การกระทำในลักษณะนำเสนอสิ่งใหม่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่โดยเฉพาะด้านแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดังนั้นอาจกล่าวได้ว่านวัตกรรมทั้งหลายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายไม่จำเป็นต้องมาจากนวัตกรรมเสมอไป (ปุระชัย : 2529) ความหมายของนวัตกรรมมีมากมายแตกต่างกันตามทัศนะ ของแต่ละคนดังนี้ ปอตเตอร์และรอสซิล (Porter and Rossinl: 1983) ให้ความหมายไว้ว่านวัตกรรมเป็นกระบวนการผสมผสานและซับซ้อนซึ่งมักถูกละเลยเสมอ ๆ เพราะความเคยชิน ในการปฏิบัติเก่า ๆโทดาโร (Todaro) (อ้างในปุระชัย: 2529) ให้ความหมายว่า หมายถึง ประดิษฐ์กรรม (Innovation) หรือการค้นพบสิ่งใหม่ เช่นผลผลิตใหม่ กระบวนการใหม่ตลอดจนแนวคิดในการหาหนทางที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน แนวใหม่กรมวิชาการ (2521: 15) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2515: 57-59) กล่าวว่า นวัตกรรมมีความหมายแตกต่างกัน เป็น 2 ระดับ คือระดับที่เป็นความพยายามใดๆ ที่จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่มากน้อยเพียงใด ก็ตามที่ต้องการนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว ส่วนอีกระดับหนึ่งเป็นการนำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็น การปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ เป็นต้น
สวัสดิ์ บุษปาคม (2517: 1) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การปฏิบัติ หรือกรรม วิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมให้ดียิ่งขึ้น คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2514: 4) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การเลือกการจัดและการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและวัสดุอย่างชาญฉลาดในวิถีทางใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผลให้ ได้รับความสำเร็จที่สูงกว่าและความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จในจุดประสงค์ที่วางไว้ และ หมายรวมถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นความคิด วิธีการ ระบบความรู้ หรือเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมให้ผลดียิ่งขึ้น
มอร์ตัน (Morton) (อ้างใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521: 13) ให้ความหมายว่า เป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (Renew) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่า และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น นวัตกรรม ไม่ใช่ การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความ อยู่รอดของระบบ
โรเจอร์ และชูเมคเกอร์ (Rogers and Shoemaker. 1971: 19) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดลอง และได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) และทดลองในวงแคบ (Pilot Project) แล้วจึงนำมาใช้ปฏิบัติจริง โดยการปฏิบัติจะ แตกต่างจากเดิมคณะกรรมาธิการระหว่างชาติว่าด้วยการพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงภายในระบบการศึกษา อันกระทำไปด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการศึกษานั้นให้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามความคิดเห็นใหม่ ๆที่คิดไว้อย่างดีแล้วนั้นไม่จำเป็นต้อง เป็นนวัตกรรมเสมอไป
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526: 20) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจปรับปรุงจากสิ่งเก่าเพื่อให้เหมาะสม หรือค้นพบสิ่งใหม่ ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521: 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง อาจจะเป็นนวัตกรรม ของประเทศอื่นก็ได้ และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำมาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม หากจะพิจารณาความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" ตามรูปศัพท์นั้นสามารถพิจารณา ได้ดังนี้
"นวก" หรือ "นว" หมายถึง ใหม่
"กรรม" หมายถึง "ความคิดและการปฏิบัติดังนั้น นวัตกรรม จึงหมายถึง ความคิดและการปฏิบัติใหม่ ๆ
สรุป นวัตกรรม หมายถึง ความคิด และการปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งอาจปรับปรุงมาจาก ของเดิมเพื่อให้เหมาะสม หรืออาจพัฒนาคิดค้นของใหม่ ๆ แปลก ๆ ที่ยังไม่เคยมีแล้วพัฒนา ทดลองใช้และปรับปรุงนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในระบบงาน เกิดประสิทธิผล และคุ้มประโยชน์นวัตกรรม เป็นสี่งที่เพิ่งนำเข้ามาทดลองใช้ในระบบงาน และเมื่อนำมาใช้จนเป็นที่ แพร่หลายแล้วเราจะเรียกนวัตกรรมนั้นว่าเทคโนโลยี